ยุคโบราณ - ยุคเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) 4,000-332 ปีก่อนคริสต์ศักราช
แหล่งอารยธรรมแรกที่เป็นต้นกำเนิดผลงานศิลปะของโลกยุคโบราณก็คือ ดินแดนเมโสโปเตเมีย ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสในแถบตะวันออกกลาง ปัจจุบันคือบริเวณประเทศอิรัก อิหร่าน และซีเรีย
เนื่องจากพื้นที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ดินแดนเมโสโปเตเมียแห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์มากและมีสงครามแย่งชิงดินแดงเกิดขึ้นบ่อย ตลอดจนเป็นดินแดนที่ถูกหลายชนชาติครอบครองอย่างไรก็ดี ชนชาติที่มีอิทธิพลมากที่สุดในแง่ของการวางรากฐานทางศิลปะและวัฒนธรรมก็คือ ชาวสุเมเรียนที่อาศัยอยู่เป็นชนชาติแรก ยุคนี้ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของการเปลี่ยนจากยุคหินเข้าสู่ยุคโลหะ เนื่องจากมีการใช้ทองแดงและสัมฤทธิ์อย่างแพร่หลายในดินแดนแห่งนี้
ยุคสุเมเรีย (Sumeria) 4,000-1,950 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ชาวสุเมเรียนถือว่าเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดในด้านศิลปวัฒนธรรมของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เพราะเป็นชนชาติแรกที่ได้ริเริ่มและวางรากฐานด้านอารยธรรมไว้ในดินแดนแห่งนี้ตั้งแต่ต้น ดังนี้
เพราะอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ชาวสุเมเรียจึงมีความรู้ด้านการชลประทาน เช่น รู้จักการทำนบกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมและมีการวางระบบประปา สร้างอุโมงค์ใต้ดินเพื่อนำไปใช้ในเมือง สร้างกำแพงเมืองเพื่อป้องกันศัตรู เนื่องจากเป็นดินแดนที่หลายชนชาติต้องการทำให้มีการสู้รบบ่อย
สร้างซิกกูแรต (Ziggurat) เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนา โดยสร้างเป็นชั้นๆสูงขึ้นไปเหมือนภูเขา แต่ละชั้นมีเฉลียงโดยรอบเพื่อใช้เป็นทางเดินขึ้นสู่ยอด เพราะเชื่อว่าเป็นทางสู่พระเจ้า และสร้างบนพื้นที่ยกสูงเพื่อหนีน้ำ โดยรวมแล้วมีลักษณะคล้ายพีระมิดแบบขั้นบันได แต่มียอดตัดเป็นพื้นที่ราบกว้างและสร้างวิหารไว้ด้านบน
ในระยะแรกซิกกูแรตเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวัง ซิกกูแรตเก่าแก่ที่สุดเท่าได้ชื่อว่า "วิหารขาว" ตามอิฐสีขาวที่ใช้ ตั้งอยู่ในเมืองวาร์กา (อูรุค) ประเทศอิรัก ซึ่งเก่าแก่กว่าพีระมิดของอียิปต์หลายร้อยปี
สร้างสุสานของกษัตริย์ สุเมเรียนหลายพระองค์ขึ้นที่เมืองเออร์โดยการขุดเป็นอุโมงค์ลงไปใต้พื้นดิน ภายในบรรจุพระศพและสมบัติมากมาย เข่น มงกุฎ เครื่องประดับ ของใช้ และเครื่องดนตรีที่ตกแต่งด้วยทอง เงิน และอัญมณีต่างๆ โดยเฉพาะลาพิสลาซูลี (lapis lazuli) หินสีน้ำเงิน มีสีทองแทรกอยู่ดูแวววาว ซึ่งเป็นอัญมณีที่นิยมมากในยุคนั้น
มีการสร้างประติมากรรมทั้งแบบ นูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว ส่วนมากเป็นรูปเทพเจ้าและพระมหากษัตริย์ รูปปั้นส่วนมากมักมีลักษณะคล้ายคลึงกันคือ ประสานมือไว้ด้านหน้า ใบหน้าใหญ่ มีเครา และมีดวงตาที่กลมโตโดดเด่น นัยน์ตาทำด้วยอัญมณีหรือเปลือหอยที่แวววาว เพราะเชื่อว่าดวงตาคือหน้าต่างของวิญญาณ
นอกจากการวาดภาพแล้ว ชาวสุเมเรียนยังเป็นชนชาติแรกที่รู้จักการเขียนหนังสือ มีการประดิษฐ์อักษรลิ่มที่เรียกว่า อักษรคูนิฟอร์มขึ้น เพื่อจารีกเรื่องราวลงบนแผ่นดินเหนียวโดยใช้ไม้ปลายแหลม
แหล่งอารยธรรมแรกที่เป็นต้นกำเนิดผลงานศิลปะของโลกยุคโบราณก็คือ ดินแดนเมโสโปเตเมีย ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสในแถบตะวันออกกลาง ปัจจุบันคือบริเวณประเทศอิรัก อิหร่าน และซีเรีย
เนื่องจากพื้นที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ดินแดนเมโสโปเตเมียแห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์มากและมีสงครามแย่งชิงดินแดงเกิดขึ้นบ่อย ตลอดจนเป็นดินแดนที่ถูกหลายชนชาติครอบครองอย่างไรก็ดี ชนชาติที่มีอิทธิพลมากที่สุดในแง่ของการวางรากฐานทางศิลปะและวัฒนธรรมก็คือ ชาวสุเมเรียนที่อาศัยอยู่เป็นชนชาติแรก ยุคนี้ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของการเปลี่ยนจากยุคหินเข้าสู่ยุคโลหะ เนื่องจากมีการใช้ทองแดงและสัมฤทธิ์อย่างแพร่หลายในดินแดนแห่งนี้
ยุคสุเมเรีย (Sumeria) 4,000-1,950 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ชาวสุเมเรียนถือว่าเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดในด้านศิลปวัฒนธรรมของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เพราะเป็นชนชาติแรกที่ได้ริเริ่มและวางรากฐานด้านอารยธรรมไว้ในดินแดนแห่งนี้ตั้งแต่ต้น ดังนี้
- สถาปัตยกรรม
เพราะอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ชาวสุเมเรียจึงมีความรู้ด้านการชลประทาน เช่น รู้จักการทำนบกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมและมีการวางระบบประปา สร้างอุโมงค์ใต้ดินเพื่อนำไปใช้ในเมือง สร้างกำแพงเมืองเพื่อป้องกันศัตรู เนื่องจากเป็นดินแดนที่หลายชนชาติต้องการทำให้มีการสู้รบบ่อย
สร้างซิกกูแรต (Ziggurat) เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนา โดยสร้างเป็นชั้นๆสูงขึ้นไปเหมือนภูเขา แต่ละชั้นมีเฉลียงโดยรอบเพื่อใช้เป็นทางเดินขึ้นสู่ยอด เพราะเชื่อว่าเป็นทางสู่พระเจ้า และสร้างบนพื้นที่ยกสูงเพื่อหนีน้ำ โดยรวมแล้วมีลักษณะคล้ายพีระมิดแบบขั้นบันได แต่มียอดตัดเป็นพื้นที่ราบกว้างและสร้างวิหารไว้ด้านบน
ในระยะแรกซิกกูแรตเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวัง ซิกกูแรตเก่าแก่ที่สุดเท่าได้ชื่อว่า "วิหารขาว" ตามอิฐสีขาวที่ใช้ ตั้งอยู่ในเมืองวาร์กา (อูรุค) ประเทศอิรัก ซึ่งเก่าแก่กว่าพีระมิดของอียิปต์หลายร้อยปี
สร้างสุสานของกษัตริย์ สุเมเรียนหลายพระองค์ขึ้นที่เมืองเออร์โดยการขุดเป็นอุโมงค์ลงไปใต้พื้นดิน ภายในบรรจุพระศพและสมบัติมากมาย เข่น มงกุฎ เครื่องประดับ ของใช้ และเครื่องดนตรีที่ตกแต่งด้วยทอง เงิน และอัญมณีต่างๆ โดยเฉพาะลาพิสลาซูลี (lapis lazuli) หินสีน้ำเงิน มีสีทองแทรกอยู่ดูแวววาว ซึ่งเป็นอัญมณีที่นิยมมากในยุคนั้น
- ประติมากรรม
มีการสร้างประติมากรรมทั้งแบบ นูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว ส่วนมากเป็นรูปเทพเจ้าและพระมหากษัตริย์ รูปปั้นส่วนมากมักมีลักษณะคล้ายคลึงกันคือ ประสานมือไว้ด้านหน้า ใบหน้าใหญ่ มีเครา และมีดวงตาที่กลมโตโดดเด่น นัยน์ตาทำด้วยอัญมณีหรือเปลือหอยที่แวววาว เพราะเชื่อว่าดวงตาคือหน้าต่างของวิญญาณ
- จิตรกรรม
นอกจากการวาดภาพแล้ว ชาวสุเมเรียนยังเป็นชนชาติแรกที่รู้จักการเขียนหนังสือ มีการประดิษฐ์อักษรลิ่มที่เรียกว่า อักษรคูนิฟอร์มขึ้น เพื่อจารีกเรื่องราวลงบนแผ่นดินเหนียวโดยใช้ไม้ปลายแหลม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น